WELCOME MY BLOG

วันอังคารที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2556

Assignment 2

 

Assignment 2

โจทย์:การผลิตน้ำตาลจัดว่าเป็นsystemหรือไม่


ตอบ การผลิตน้ำตาลจัดว่าเป็นsystem

1. ปัจจัยนำเข้า (Input)


คือ คน เงินทุน เครื่องจักร วัตถุดิบ การบริหารจัดการ ทรัพยากร

2. กระบวนการผลิตหรือแปลงสภาพ (Process) มีวิธีการดังนี้

 1. กระบวนการสกัดน้ำอ้อย (Juice Extraction)

2. การทำความสะอาดหรือทำใสน้ำอ้อย (Juice Purification)

3. การระเหย (Evaporation)

4. ขั้นตอนการตกผลึกครั้งที่หนึ่งการเคี่ยว (Crystallization)

5. การปั่นแยกผลึกน้ำตาล (Centrifugaling)


6. การปั่นละลาย (Affinated Centrifugaling)

7. การทำความสะอาดและฟอกสี (Clarification)

8. การเคี่ยว (Crystallization)

9. การปั่นแยกผลึกน้ำตาล (Centrifugaling)

10. การอบ (Drying)


3. ผลผลิตที่ได้ (Output)

 

แหล่งที่มา

 http://www.thaisugarmillers.com

 http://intimeproduct19.tripod.com

 http://yada-fairytale.blogspot.com


เฉลย   Assignment 2

system

                          Input                              Process                                      Output

                  1.โรงงานน้ำตาล                1.การสกัดน้ำอ้อย                          1.น้ำตาลทราย

                  2.เครื่องจักร                       2.การทำความสะอาดน้ำอ้อย         2.กากน้ำตาล

                  3.วัตถุดิบ                           3.การต้มให้ได้น้ำเชื่อม

                 4.แรงงาน                           4.การเคี่ยวให้เป็นผลึกและกาก

                 5.เงินทุน                             5.การปั่นแยกผลึกน้ำตาล

                                                            6.การอบ

                                                            7.การบรรจุถุง



วันจันทร์ที่ 17 มิถุนายน พ.ศ. 2556

Assignment1

1.smartphone คืออะไร มีประโยชน์อย่างไร บอกมา5ประการ

        smartphone คือ โทรศัพท์ที่รองรับระบบปฏิบัติการ ต่างๆได้ เสมือนยกเอาคุณสมบัติที่ PDA และ

คอมพิวเตอร์มาไว้ในโทรศัพท์
ประโยชน์ของsmartphone
1.สามารถติดต่อ email / facebook
2.สามารถหาข้อมูล / เช็คข่าวสาร / อ่าน webboard / ตรวจสอบสภาพอากาศ / เช็ครอบภาพยนตร์
3.สามารถดูแผนที่ / การนำทาง / สภาพการจราจร
4.สามารถปล่อยสัญญาณ internet ให้กับ Notebook
5.สามารถทำตารางนัดหมาย / contact / สมุดบันทึก โดย sync กับ account ต่างๆ
ที่มา
http://www.thaiandroidphone.com
2.Android คืออะไร ปกติ จะพบสิ่งนี้ที่ไหน

คือระบบปฏิบัติการสำหรับอุปกรณ์พกพา เช่น โทรศัพท์มือถือ, แท็บเล็ต, คอมพิวเตอร์และเน็ตบุ๊ก ที่ทำงานบนลินุกซ์ เคอร์เนล เริ่มพัฒนาโดยบริษัทแอนดรอยด์ จากนั้นบริษัทแอนดรอยด์ถูกซื้อโดยกูเกิล และทางกูเกิลได้นำแอนดรอยด์ไปพัฒนาต่อ ส่วนด้านลิขสิทธิ์ของโค้ดแอนดรอยด์จะใช้ในลักษณะของซอฟต์แวร์เสรีหรือโอเพ่นซอร์ส (Open Source) ทำให้นักพัฒนาสามารถแก้ไข ดัดแปลงโค้ดแอนดรอยด์ได้อย่างอิสระ และที่สำคัญคือแตกฟรี สำหรับระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์เป็นที่รู้จักต่อสาธารณชนเมื่อวันที่ 5 พฤศจิกายน 2550 และแอนดรอย์เวอร์ชั่น 1.0 ถูกปล่อยออกมาใช้งานอย่างเป็นทางการครั้งแรกเมื่อวันที่ 28 กันยายน 2551

จะพบAndroidที่ไหน

          ปัจจุบันระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์ถูกนำไปใช้งานกันอย่างแพร่หลาย ผู้ผลิตมือถือยักษ์ใหญ่หลายเจ้าต่างพัฒนาและผลิตสมาร์ทโฟนที่ใช้ระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์ออกมาวางจำหน่ายมากมาย ไม่ว่าจะเป็น Samsung, HTC, Motorola และ Sony เป็นต้น และทางกูเกิลซึ่งเป็นผู้พัฒนาแอนดรอยด์ก็ได้ผลิตสมาร์ทโฟนของตัวเองออกมาเช่นกัน เป็นสมาร์ทโฟนตระกูล Galaxy Nexus

ที่มา
http://th.wikipedia.org
http://android.kapook.com
3.Cyber Bully หมายถึงอะไร อธิบายมา1ย่อหน้า ไม่ต่ำกว่า10บรรทัด

Cyber Bully  หมายถึง

การกลั่นแกล้งในโลกไซเบอร์คือการประทุษร้ายหรือทำให้ผู้อื่นอับอายผ่านทางการใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์ เช่น อีเมล์, การส่งข้อความ, บล็อก, เว็บไซต์, ชุมชนออนไลน์, เมสเสจ, และโทรศัพท์ สิ่งที่นักเลงไซเบอร์ตั้งใจคือการแสดงความเป็นศัตรูหรือแสดงออกในแง่ลบต่ออีกฝ่าย

การกลั่นแกล้งในโลกไซเบอร์อาจรวมถึงสิ่งพิมพ์หรือการส่งผ่านข้อมูลที่เป็นเรื่องส่วนตัวของคนหนึ่งไปยังสถานที่สาธารณะโดยไม่ได้รับอนุญาตจากเจ้าของ เช่น การเซฟภาพเจ้านายใส่ชุดบิกินี่ในวันพักผ่อนจากเฟซบุ้คของเจ้านายไปเผยแพร่ต่อทางฟอร์เวิร์ดเมล์ หรือการนำภาพแอบถ่ายในห้องน้ำของใครสักคนที่ได้รับมาไปโพสหน้าเว็บไซต์ให้คนอื่นดูด้วยกัน เป็นต้น

นอกจากนั้นนักเลงไซเบอร์อาจจะส่งข้อความให้ร้ายไปยังผู้อื่น หรือเขียนคอมเมนต์ในเว็บไซต์หรือบล็อกที่เป็นการต่อว่า การประทุษร้ายซ้ำๆ หลายครั้งแม้จะดูเป็นบาดแผลที่ห่างไกลหัวใจจนไม่น่าใส่ใจสำหรับผู้ใหญ่ แต่สำหรับเด็กหรือวัยรุ่นถือเป็นการทำร้ายที่รุนแรงมาก ส่งผลให้รู้สึกซึมเศร้า, หงุดหงิดอาละวาด, และทำร้ายตัวเองจากอารมณ์หุนหันพลันแล่นได้หรืออาจถึงแก่ชีวิตได้

ปัจจุบันนี้หลายประเทศได้ประกาศใช้พรบ.ป้องกันการกระทำผิดทางอินเตอร์เน็ตแล้ว และยอมรับว่าผู้ที่ทำตัวเป็นนักเลงไซเบอร์เป็น “อาชญากร” ด้วย แม้แต่การเขียนคอมเมนต์ที่เป็นการสบประมาทในเรื่องเชื้อชาติ, ศาสนา, เผ่าพันธุ์, หรือเพศก็จัดเป็นการกระทำผิดด้วยเช่นกัน
ที่มา:  http://www.suite101.com